ข่าวการเมือง

ผมมั่นใจว่าพรรคเพื่อไทยจะได้ สส. เกินกว่าที่คาดเอาไว้ อาจเกิน 300 ที่นั่ง

Summary

บทความโดย…ลูกชาวนาไทย จากการติดตามการคาดการณ์ที่นั่ง สส. ของพรรคต่างๆ จากหลายโพลหลายสำนักรวมทั้งที่พูดคุยกันในวงการต่างๆ หลายฝ่ายคาดการณ์ว่าพรรคเพื่อไทยจะได้ที่นั่ง สส. ประมาณ 230-270 ที่นั่ง ตัวเลขนี้เป็นที่ยอมรับกันกลายๆ ไปแล้วในสังคมไทยในเวลานี้ แต่ประสบการณ์จากการเลือกตั้งในอดีต การคาดการณ์มักจะผิดโดยตลอด เพราะประเมินชาวบ้านต่ำไป การเลือกตั้งของพรรคไทยรักไทยครั้งแรกในปี 2544 นั้น ทุกคนก็คาดว่าพรรคไทยรักไทย (ซึ่งจริงๆ ก็คือพรรคเพื่อไทยในวันนี้) จะได้คะแนนเสียงมากกว่าพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ถึง 200 เสียงอย่างแน่นอน นั่นเป็นการคาดการณ์จากประสบการณ์ในอดีต การประเมินผลต่างๆ  แต่ผลของการเลือกตั้งในปี 2544 คือ ทรท. ได้เสียงถึง 248 ที่นั่ง พลิกความคาดหมายของทุกคนไปอย่างมโหฬารจนเป็นปรากฎการณ์ทางการเมืองที่ไม่เคยมีมาก่อนในอดีตสำหรับประเทศไทย นั่นคือการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดครั้งแรกของพฤติกรรมการเลือกตั้งของคนไทย การเลือกตั้งปี 2548 ก็ไม่มีใครคิดว่า ทรท. จะได้ถึง 377 ที่นั่ง แต่ก็เกิดขึ้น จนส่งผลให้ฝ่ายตรงข้ามเกิดความสิ้นหวังที่จะเอาชนะในระบบเลือกตั้ง เมื่อเกิดรัฐประหารขึ้นในปี 2549 และมีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่และเปิดโอกาสให้ประชาชนลงประชามติ ท่ามกลางการข่มขู่ของคณะรัฐประหารต่างๆ นานา และการล่อลวงต่างๆ เช่น รับไปก่อนแล้วแก้ทีหลัง ก็ไม่มีใครคิดว่าประชาชนที่โหวตไม่รับร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 จะมีถึง 10 ล้านคน ผิดความคาดหมายอีกเช่นกัน ในการเลือกตั้งทั่วไป ปี 2550 ยุคคุณสมัครเป็นหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ก็ไม่มีใครเคยคาดการณ์ว่าพรรคพลังประชาชนจะได้ถึง 233 ที่นั่งท่ามกลางการสะกัดกั้นของ […]

บทความโดย…ลูกชาวนาไทย

จากการติดตามการคาดการณ์ที่นั่ง สส. ของพรรคต่างๆ จากหลายโพลหลายสำนักรวมทั้งที่พูดคุยกันในวงการต่างๆ หลายฝ่ายคาดการณ์ว่าพรรคเพื่อไทยจะได้ที่นั่ง สส. ประมาณ 230-270 ที่นั่ง ตัวเลขนี้เป็นที่ยอมรับกันกลายๆ ไปแล้วในสังคมไทยในเวลานี้

แต่ประสบการณ์จากการเลือกตั้งในอดีต การคาดการณ์มักจะผิดโดยตลอด เพราะประเมินชาวบ้านต่ำไป การเลือกตั้งของพรรคไทยรักไทยครั้งแรกในปี 2544 นั้น ทุกคนก็คาดว่าพรรคไทยรักไทย (ซึ่งจริงๆ ก็คือพรรคเพื่อไทยในวันนี้) จะได้คะแนนเสียงมากกว่าพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ถึง 200 เสียงอย่างแน่นอน นั่นเป็นการคาดการณ์จากประสบการณ์ในอดีต การประเมินผลต่างๆ  แต่ผลของการเลือกตั้งในปี 2544 คือ ทรท. ได้เสียงถึง 248 ที่นั่ง พลิกความคาดหมายของทุกคนไปอย่างมโหฬารจนเป็นปรากฎการณ์ทางการเมืองที่ไม่เคยมีมาก่อนในอดีตสำหรับประเทศไทย นั่นคือการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดครั้งแรกของพฤติกรรมการเลือกตั้งของคนไทย

การเลือกตั้งปี 2548 ก็ไม่มีใครคิดว่า ทรท. จะได้ถึง 377 ที่นั่ง แต่ก็เกิดขึ้น จนส่งผลให้ฝ่ายตรงข้ามเกิดความสิ้นหวังที่จะเอาชนะในระบบเลือกตั้ง

เมื่อเกิดรัฐประหารขึ้นในปี 2549 และมีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่และเปิดโอกาสให้ประชาชนลงประชามติ ท่ามกลางการข่มขู่ของคณะรัฐประหารต่างๆ นานา และการล่อลวงต่างๆ เช่น รับไปก่อนแล้วแก้ทีหลัง ก็ไม่มีใครคิดว่าประชาชนที่โหวตไม่รับร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 จะมีถึง 10 ล้านคน ผิดความคาดหมายอีกเช่นกัน

ในการเลือกตั้งทั่วไป ปี 2550 ยุคคุณสมัครเป็นหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ก็ไม่มีใครเคยคาดการณ์ว่าพรรคพลังประชาชนจะได้ถึง 233 ที่นั่งท่ามกลางการสะกัดกั้นของ คณะรัฐประหารอย่างเต็มที่ แต่เสียงของประชาชนก็ออกมาเกินความคาดหมายอีกเช่นกัน พลิกความคาดหมายของหลายๆ คนที่คิดว่าตัวเองได้เปรียบกุมกลไกอำนาจรัฐทุกอย่าง ทั้งสื่อเงินทุน และกีดกันฝ่ายตรงข้ามอย่างเต็มที่ แต่ผลการเลือกตั้งก็พลิกความคาดหมายไปอย่างมโหราฬ

ผมว่านิสัยของคนไทยส่วนใหญ่นั้นจะไม่ค่อยบอกความจริง เวลามีคนไปสำรวจโพล ส่วนใหญ่จะบอกเป็นกลางๆ แต่เวลาเลือกตั้งคนเลือกจะทำตามที่ตัวเองตั้งใจไว้ ซึ่งจะพลิกไปจากผลการสำรวจโพลอย่างมโหฬาร เป็นอย่างนี้แทบทุกครั้ง

สรุปแล้วไม่มีใครเคยคาดการณ์การแสดงออกของประชาชนได้อย่างถูกต้องมาโดยตลอด ส่วนใหญ่คนชั้นปกครองและคนชั้นกลาง รวมทั้งสื่อทั้งหลายในกรุงเทพฯ มักมองชาวบ้านต่ำไปแทบทุกครั้ง และประเมิน “ความสามารถของการควบคุมประชาชนของระบบราชการว่าจะสร้างความได้เปรียบ” สูงเกินจริงไปทุกครั้ง

ระบบราชการไม่เคยคุมคะแนนเสียงชาวบ้านได้ แม้แต่ยุค บิ๊กตุ๋ยอิสระพงศ์ หนุนภักดีเป็น บิ๊ก รสช. ในปี 2534 เป็น รมต.มหาดไทยก็ยังคุมเสียงเลือกตั้งไม่ได้อย่างที่คิด ใครคิดว่าควบคุมกลไกระบบราชการไว้แล้วจะคุมคะแนนเสียงได้นั้น คิดผิด แต่ก็ไม่เคยเปลี่ยนความคิดเสียที

หากพรรคเพื่อไทยได้ สส.  230-270 ที่นั่งอย่างที่ทุกฝ่ายประเมินเอาไว้ ผลมันก็ไม่พลิกความคาดหมายทุกๆ คนก็ประเมินเอาไว้อย่างนี้แหละ แต่ผมว่ามันพลิกเกินคาดหมายแน่

ขนาด ยุค ทรท. ในการเลือกตั้งปี 2548 หลังรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย คนแค่เบื่อนายชวนเชื่องช้า ไม่ได้มีปัญหาเรื่องประชาธิปไตย เผด็จการ การสังหารหมู่ประชาชน การรต่อต้านอำมาตย์ พรรค ทรท.ยังชนะแบบเกินคาดฝันไปอย่างมาก

วันนี้ผลงานรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ นั้นสุดห่วยกว่ารัฐบาลนายชวนหลายสิบเท่า มีปัญหาเรื่องการสังหารหมู่ประชาชน เผด็จการทหารซ่อนรูป สังคมแตกแยกเป็นสองฝ่าย เสื้อแดงเต็มแผ่นดิน ประชาชนมีความตื่นตัวทางการเมืองสูงมาก มีการชุมนุมทางการเมืองต่อเนื่องมาเป็นเวลาเกือบ 5 ปี ผลการเลือกตั้งจะพลิกความคาดหมายยิ่งกว่าที่คาดเอาไว้มาก

วันนี้พรรคเล็กๆ ก็ไม่ได้บลูมอย่างที่ควร นักการเมืองคนสำคัญในระบบอุปถัมป์ท้องถิ่น เช่น บรรหารและลูกๆ นายสุวัฒน์  นายเนวิน และอื่นๆ ก็ลงสมัคร สส. เองไม่ได้ ดังนั้นจึงอย่าหวังว่าพรรคเล็กๆ เหล่านี้จะสามารถได้เสียงเท่าเดิม หรือสามารถรักษาฐานเสียงในพื้นที่ต่างๆ เช่น สุพรรณบุรี อ่างทอง บุรีรัมย์ โคราช เอาไว้ได้อย่างเหนียวแน่น พื้นที่เหล่านี้เป็นพื้นที่สีแดงเรื่อๆ แทบทั้งสิ้น

วิกฤติการณ์การเมือง 5 ปี ทำให้คนเบื่อที่จะอยู่ในวังวนเดิม ความซาบซึ้งหายไปแทบหมดแล้ว

และที่สำคัญอาจมีคนออกเสียงประชดพ่อแม่ทั้งหลายอีกมาก หรือสั่งสอนพ่อแม่หัวโบราณทั้งหลายเป็นต้น

ผมจึงฟันธงว่าคะแนนเสียงจะพลิกความคาดหมายอย่างรุนแรงแน่นอนอาจถล่มทลาย แบบสั่งสอนพวกทหารและอำมาตย์อย่างสาสมโดยประชาชนเลยทีเดียว

พรรคเล็กๆ แบบพรรคเนวิน พรรคสุวัฒน์ หรือพรรคบรรหาร มีจุดแข็งอย่างเดียวคือ “ระบบซื้อเสียงผ่านหัวคะแนนต่างๆ” เพราะไม่อาจให้ความหวังด้านนโยบายได้ แต่วันนี้มีการสอนทั่วกันทั้งสังคมว่า “ให้เงินก็รับแต่กาเบอร์ที่เราชอบ” ดังนั้น “ความซื่อสัตย์” ต่อเงินที่จ่ายไปน้อยลงกว่าที่เคยเป็นมาในอดีตอย่างแน่นอน

มันมีปัจจัยอื่นอีกเยอะที่ผู้เลือกตั้งใช้ในการตัดสินใจลงคะแนน

ที่สำคัญงานวิจัยของนักวิชาการที่เริ่มสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้นในชนบท เริ่มให้ภาพออกมาแล้วว่า ชนบทไทยปี 2550s นั้นไม่เหมือนภาพชนบทไทยในปี 2520-2530 ที่เป็นภาพติดตา ของคนชั้นนำและชนชั้นกลางในกรุงเทพฯมาเป็นเวลานาน เพราะตำราเรียนทั้งหลายมีแต่การให้ภาพชนบทในช่วงนั้นทั้งสิ้น องค์ความรู้ใหม่เรื่องชนบทไทยยังไม่เกิด เพิ่งมีงานวิจัยออกมาไม่มากเท่านั้น ดังนั้นการประเมินสถานการณ์ต่างๆ ของสื่อทั้งหลาย คอลัมภ์นิสต์ ชนชั้นนำชาวกรุงฯ ทั้งหลายก็มักใช้องค์ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการเลือกตั้งของคนชนบทในอดีตมาเป็นพื้นฐานในการเประเมิน (เช่น คนอีสานขายเสียง คนใต้ไม่ขายเสียงเป็นต้น ซึ่งส่งผลให้ประเมินพรรคเล็กอย่างภูมิใจไทยสูงเกินไป)

แต่การศึกษาของนักวิชาการในเร็วๆ นี้สรุปคือ ชนบทไทยได้เปลี่ยนไปจากเกษตรกรทำเกษตรกรรมแบบยังชีพ ไปเป็นระบบตลาดที่มี “คนชั้นกลางระดับล่าง” (รายจ่ายครัวเรือน 2,000-4000 บาท/เดือน) วิถีการบริโภค ความเชื่อและการรับข่าวสารเหมือนคนชั้นกลางในเมือง แต่ชีวิตความ “มั่นคงในการดำรงชีวิต” ขึ้นกับนโยบายมหภาคของรัฐบาลค่อนข้างมาก ลูกหลานของชาวชนบทได้เคลื่อนย้ายมาทำงานในเมืองแบบถาวร ส่งเงินกลับชนบท รวมทั้งมีการถ่ายเทข้อมูลข่าวสารระหว่างลูกหลานและเครือญาติในชนบท ทำให้การรับรู้ทางการเมืองไม่แตกต่างการมากนัก

ดังนั้นพฤติกรรมการเลือกตั้งของคนชนบทจึงเปลี่ยนไป เป็นการเลือกนโยบายมหภาค (ประกันสุขภาพ, ประกันรายได้, ความมั่นคงด้านอาชีพ,อนาคตการศึกษาของบุตรหลาน) เป็นต้น ซึ่งนโยบายเหล่านี้จะตอบสนองได้แต่นโยบายของพรรคใหญ่เท่านั้น รวมทั้งความเชื่อมั่นในตัวผู้บริหารด้วย นโยบายของพรรคเล็กๆ ไม่อาจตอบสนองความต้องการแบบนี้ได้

ส่วนนโยบายท้องถิ่น เช่น ถนน ไฟฟ้า ศาลาวัด อะไรแบบสมัยก่อนนั้นไม่มีความหมายแล้ว เพราะ อบจ./อบต. รับภาระส่วนนี้ไปหมดสิ้นแล้ว หากต้องการถนน ชาวบ้านก็จะไปเรียกร้องกับ อบต./อบจ. ไม่ใช่เรียกร้องเอาจาก สส.

พรรคเล็กๆ ที่เน้นนโยบายพัฒนาท้องถิ่นจึงไม่มีความหมายแต่อย่างใด

อันนี้ต่างจากพรรคเล็กๆ ในยุโรปที่เน้นนโยบายทางเลือกอื่นเช่น พรรคกรีน เป็นนโยบายมหภาคนอกกระแสหลักเป็นต้น พรรคเล็กๆ ของไทยนโยบายคือ งานของพวก อบต./อบจ. เป็นแค่กลุ่มการเมืองท้องถิ่นหาใช่พรรคการเมืองจริงๆ ไม่

โมเดลแบบ “บรรหารบุรี” ในปี 2554 จึงไม่มีความหมายอีกต่อไป แบบจำลองนี้มันใช้ได้ในปี 2530-2540 ในอดีต

งานวิจัยของนักวิชาการเรื่องชนบท สอดคล้องกับทฤษฎีของผมที่เคยพูดไว้มานานแล้วว่า “พฤติกรรมการเลือกตั้งของคนชนบทเปลี่ยนไป เป็นการเลือกพรรคมากกว่าตัวบุคคล” ผมตระหนักอันนี้ จากการเป็นคนชนบท และเห็นภาพการเลือกตั้งหลังปี 2540 ก็เป็นอย่างนั้นแทบทุกครั้ง

งานวิจัยได้ตอบข้อสมมุติฐานในเรื่อง “การเกิดขึ้นของคนชั้นกลางระดับล่างในชนบท” เป็นข้อมูลที่ตอบข้อสมมุติฐานว่าทำไมพฤติกรรมการเลือกตั้งของคนชนบทเปลี่ยน ไป

ก็คือที่อธิบายไว้ข้างต้น

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

x
No Deposit Bonus